10 ประเทศอาเซียน

ประเทศไทย


เมืองหลวง ไทย: กรุงเทพมหานคร
ศาสนา : พุทธ 93.83%, อิสลาม 4.56%, คริสต์ 0.80%, ฮินดู 0.086%, ลัทธิขงจื๊อ 0.011% และอื่นๆ 0.079% และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาและไม่ทราบศาสนา 0.27% และ 0.36%
วันชาติ : 
วันที่ ธันวาคม
การเมืองการปกครอง ไทย: 
ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พื้นที่ : 
513,115.02 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 
65,124,716 คน
ภาษา :
 
ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
สัตว์ประจำชาติ ไทย: 
ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองและมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของประเทศ 
สกุลเงิน ไทย :
 
บาท (Baht)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :
 
สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน 



อาหารประจำชาติ : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)  แค่เอ่ยชื่อก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ต้มยำกุ้งเป็นอาหารคาวที่เหมาะสำหรับรับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ กลิ่นหอมของสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในต้มยำกุ้ง นอกจากจะทำให้รู้สึกสดชื่นแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการเจริญอาหารได้เป็นอย่างดี


ประเทศบรูไน


เมืองหลวง บรูไน : บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ศาสนา : 
อิสลาม 67%, พุทธนิกายมหายาน 13%, ศาสนาคริสต์ 10%
วันชาติ บรูไน : 
วันที่ 23 กุมภาพันธ์
การเมืองการปกครอง บรูไน : 
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สุลต่านทรงเป็นอธิปัตย์ คือเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวบรูไนเชื้อสายมาเลย์โดยกำเนิด และจะต้องเป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ นอกจากนี้ บรูไนไม่มีสภาที่ได้รับเลือกจากประชาชน
พื้นที่ :  
5,769 ตร.กม. ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบนเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้
ประชากร : 
มีจำนวนประชากรประมาณ 401,890 คน (น้อยที่สุดในอาเซียน) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อชาติ มลายู รองลงมาคือ จีน และชนพื้นเมืองต่าง
ภาษา :
 
ภาษามาเลย์เป็น ภาษาราชการ และใช้ภาษาอังกฤษกันทั่วไปทั้งในราชการ การค้า ภาษาจีนใช้กันในกลุ่มคนจีน
สัตว์ประจำชาติ บรูไน : เสือโคร่ง
สกุลเงิน บรูไน : 
ดอลล่าร์บรูไน ดารุสซาลาม
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  มกราคม 1984
 
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา (Dillenia) ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมืองอีกด้วย


อาหารประจำชาติ :  อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไน มีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติ แต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว นอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด  ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆ 

ประเทศกัมพูชา


เมืองหลวง กัมพูชา : กรุงพนมเปญ
ศาสนา : 
พุทธร้อยละ 95, อิสลามร้อยละ 3, คริสต์ร้อยละ 1.7, พราหมณ์-ฮินดูร้อยละ 0.3
วันชาติ กัมพูชา : วันที่ 
พฤศจิกายน
การเมืองการปกครอง กัมพูชา : 
ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
พื้นที่ :  
180,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน
ประชากร : 
: มีจำนวนประมาณ 14.7 ล้านคน ชาวเขมรร้อยละ 90 ชาวญวนร้อยละ ชาวจีนร้อยละ และอื่นๆ ร้อยละ 4
ภาษา : 
ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษฝรั่งเศสเวียดนามและจีน
สัตว์ประจำชาติ กัมพูชา : 
กูปรี หรือโคไพร เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
สกุลเงิน กัมพูชา : 
เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :  
เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1999


 ดอกไม้ประจำชาติ : เป็น ดอกลำดวน (Rumdul) ดอกไม้สีขาวปนเหลืองนวล กลีบดอกหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็นแบบกรุ่น ๆ ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้สำหรับสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้อง ต้องปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธด้วยนะ

อาหารประจำชาติ : อาม็อก (Amok) เป็นอาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย โดยเป็นการนำเนื้อปลาสด ๆ ลวกพริกเครื่องแกง และกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อปลาแล้ว อาจเลือกใช้เนื้อไก่แทนก็ได้ ส่วนสาเหตุที่คนในประเทศกัมพูชานิยมรับประทานปลา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำให้ปลาเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายนั่นเอง

                                                     ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง อินโดนีเซีย : จาการ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ศาสนา :
 
อิสลามร้อยละ 88 คริสต์ร้อยละ ฮินดูร้อยละ พุทธร้อยละ และศาสนาอื่นๆร้อยละ 1
วันชาติ อินโดนีเซีย : 
วันที่ 17 สิงหาคม
การเมืองการปกครอง : 
ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
พื้นที่ :  
1,904,433 ตารางกิโลเมตร (หรือ 10 เท่า ของไทย)
ประชากร : 
มีจำนวนประชากร 241 ล้านคน ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม
ภาษา :
 
ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
สัตว์ประจำชาติ อินโดนีเซีย : 
มังกรโคโมโด
สกุลเงิน อินโดนีเซีย : 
รูเปียห์ (Rupiah) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :
  
สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกกล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid) ซึ่งเป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นาน 2-6 เดือน โดยดอกจะบานแค่ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย

อาหารประจำชาติ :   กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก และธัญพืชหลากหลายชนิด  ทั้งแครอท มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุกด้วย กาโด กาโดจะนำมารับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ อย่างไรก็ตาม ด้วยเครื่องสมุนไพรในซอส อาทิ รากผักชี หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ทำให้เมื่อรับประทานแล้วจะไม่รู้สึกเลี่ยนกะทิมากจนเกินไปนั่นเอง

ประเทศลาว


เมืองหลวง ลาว : เวียงจันทร์
ศาสนา :
 ศาสนาพุทธ(เถรวาท) คริสต์ อิสลาม นับถือผี
วันชาติ ลาว : 
วันที่ 2 ธันวาคม
การเมืองการปกครอง ลาว : 
สาธารณรัฐสังคมนิยม พรรคการเมืองเดียว คือ พรรคปฏิวัติประชาชนลาว 
พื้นที่ :
 
ประมาณ 236,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 
มีจำนวนประมาณ 6.5 ล้านคน ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
ภาษา :
 
ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
สัตว์ประจำชาติ ลาว : 
ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง  
สกุลเงิน ลาว : 
กีบ (Kip)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :
  
เข้าร่วมสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ วันที่ 23 ก.ค. 1997


ดอกไม้ประจำชาติ: ดอกจำปาลาว (Dok Champa) คนไทยรู้จักกันดีในชื่อ ดอกลีลาวดี หรือ ดอกลั่นทม โดยดอกจำปาลาวมักมีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อประดับประดาในงานพิธีต่าง ๆ รวมทั้งใช้เป็นพวงมาลัยเพื่อรับแขกอีกด้วย


อาหารประจำชาติ : สลัดหลวงพระบาง (Luang Prabang Salad) เป็นอาหารขึ้นชื่ออีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีรสชาติกลาง ๆ ทำให้รับประทานได้ทั้งชาวตะวันออก และตะวันตก โดยส่วนประกอบสำคัญคือ ผักน้ำ ซึ่งเป็นผักป่าที่ขึ้นตามริมธารน้ำไหล และยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น  มันแกว แตงกวา มะเขือเทศ ไข่ต้ม ผักกาดหอม และหมูสับลวกสุก ส่วนวิธีปรุงรสคือ ราดด้วยน้ำสลัดชนิดใส คลุกส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แล้วโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว และถั่วลิสงคั่ว 

ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง มาเลเซีย : กัวลาลัมเปอร์ 
ศาสนา :
 
อิสลาม ศาสนาประจำชาติ ร้อยละ 60.4, พุทธ ร้อยละ 19.2, คริสต์ ร้อยละ 11.6, ฮินดู ร้อยละ 6.3 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 2.5
วันชาติ มาเลเซีย : วันที่ 
31 สิงหาคม
การเมืองการปกครอง มาเลเซีย : 
ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
พื้นที่ :  
ประมาณ 329,758 ตารางกิโลเมตร ( ประมาณ 64% ของไทย)
ประชากร :
 
มีจำนวนประมาณ 30,018,242 ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%  
ภาษา :
 
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
สัตว์ประจำชาติ มาเลเซีย : 
เสือโคร่ง
สกุลเงิน มาเลเซีย : 
ริงกิต (Ringgit) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :
  
สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย :  ดอกพู่ระหง (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นเรียกกันว่า บุหงารายอ หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ดอกชบาสีแดง ลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างาม รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์และความงามได้อีกด้วย

อาหารประจำชาติ :   นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย โดยนาซิ เลอมัก จะเป็นข้าวหุงกับกะทิ และใบเตย ทานพร้อมเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น  ไข่ต้มสุก และถั่วอบ ซึ่งนาซิ เลอมักแบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตอง และมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบัน กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ และแพร่หลายในประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายแห่ง เช่น สิงคโปร์ และภาคใต้ของไทยด้วย

ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า 

เมืองหลวง เมียนมาร์ : เนปีดอ (Naypyidaw)
ศาสนา :
 
พุทธ 90%, คริสต์ 5%, อิสลาม 3.8%
วันชาติ : 
วันที่ มกราคม
การเมืองการปกครอง เมียนมาร์ :
 
ระบบเผด็จการทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
พื้นที่ :  
677,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 
มีจำนวนประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพันธุ์พม่า 68%, ไทใหญ่ 9%, กะเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 3.50%, จีน 2.50%, มอญ 2%, คะฉิ่น 1.50%, อินเดีย 1.25%, ชิน1%, คะยา 0.75% และอื่นๆ 4.50%
ภาษา : 
ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
สัตว์ประจำชาติ เมียนมาร์ : เสือ
สกุลเงิน เมียนมาร์ : 
จ๊าด (Kyat) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :
  
วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ.1997

ดอกไม้ประจำชาติพม่า : ดอกประดู่ (Paduak) เป็นดอกไม้ที่พบมากในประเทศพม่า มีสีเหลืองทอง ผลิดอกและส่งกลิ่นหอมในฤดูฝนแรก ช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ประเทศพม่ามีการเฉลิมฉลองปีใหม่ ขึ้น ชาวพม่าเชื่อว่าดอกประดู่คือสัญลักษณ์ของความแข็งแรง ความทนทาน และเป็นดอกไม้ที่ขาดไม่ได้ในพิธีทางศาสนาของชาวพม่า

อาหารประจำชาติ :  หล่าเพ็ด (Lahpet) เป็นอาหารยอดนิยมของพม่า โดยการนำใบชาหมักมาทานกับเครื่องเคียง เช่น กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เรียกได้ว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับเมี่ยงคำของประเทศไทย ซึ่งหล่าเพ็ดนี้ จะเป็นเมนูอาหารที่ขาดไม่ได้ในโอกาสพิเศษหรือเทศกาลสำคัญ ๆ ของประเทศพม่า โดยกล่าวกันว่า หากงานเลี้ยง หรืองานเฉลิมฉลองใด ไม่มีหล่าเพ็ด จะถือว่าการนั้นเป็นงานที่ขาดความสมบูรณ์ไปเลยทีเดียว

ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง ฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา
ศาสนา :
 ร้อยละ 92.5 นับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ เป็นนิกายโปรเตสแตนต์
วันชาติ ฟิลิปปินส์ : วันที่ 
12 มิถุนายน
การเมืองการปกครอง ฟิลิปปินส์ : 
ระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
พื้นที่ :  
300,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 
มีจำนวนประมาณ 103,000,000 คน
ภาษา :
 
ภาษาฟิลิปีโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ
สัตว์ประจำชาติ ฟิลิปปินส์ : 
กระบือ เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ ในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว
สกุลเงิน ฟิลิปปินส์ : 
เปโซ (Peso)
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :
 
วันที่ สิงหาคม


 ดอกไม้ประจำชาติฟิลิปปินส์ : ดอกพุดแก้ว (Sampaguita Jasmine) ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม บานส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งอีกด้วย เคยถูกนำมาใช้เฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่ารวมทั้งบทเพลงของฟิลิปปินส์ด้วย เช่นกัน

อาหารประจำชาติ :  อโดโบ้ (Adobo) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่ผ่านการหมัก และปรุงรส โดยจะใส่น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วขาว กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยอบในเตาอบ หรือทอด แล้วนำมารับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ 

ประเทศสิงคโปร์ 

เมืองหลวง สิงคโปร์ : สิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว
ศาสนา : 
พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
วันชาติ : 
วันที่ สิงหาคม
การเมืองการปกครอง สิงคโปร์ : 
ปกครองแบบสาธารณรัฐ มีรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐสภาวาระคราวละ 5
พื้นที่ :  
697.1 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 
มีจำนวนประมาณ 5,469,700 คน ประกอบด้วยชาวจีน 75%, มาเลย์ 15%, อินเดีย 10%
ภาษา :
 
ภาษาราชการ มี ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาจีนแมนดาริน และภาษาทมิฬ
สัตว์ประจำชาติ สิงคโปร์ : 
สิงโต ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต
สกุลเงิน สิงคโปร์ : 
ดอลล่าร์สิงคโปร์ 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน : 
สิงหาคม 1967 เป็น 1 ใน ประเทศในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ : ดอกกล้วยไม้แวนด้า (Vanda Miss Joaquim) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกกล้วยไม้แวนด้าตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim จัดเป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีสีม่วงสดสวยงามและเบ่งบานอยู่ตลอดทั้งปี โดยถูกจัดให้เป็นดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ. 2524)


อาหารประจำชาติ : ลักซา (Laksa) อาหารขึ้นชื่อของประเทศสิงคโปร์ ลักซามีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่กะทิ ทำให้รสชาติเข้มข้น คล้ายคลึงกับข้าวซอยของไทย โดยลักซาจะมีส่วนผสมของ กุ้งแห้ง พริก กุ้งต้ม และหอยแครง เหมาะสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเลเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ลักซามีทั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ ทว่า แบบที่ใส่กะทิจะเป็นที่นิยมมากกว่า

ประเทศเวียดนาม



เมืองหลวง เวียดนาม : กรุงฮานอย
ศาสนา :
 ศาสนาพุทธ นิกายมหายานสูงถึงร้อยละ 70 ของจำนวนประชากร ร้อยละ 15 นับถือศาสนาคริสต์ ที่เหลือนับถือลัทธิขงจื้อ มุสลิม
วันชาติ : 
วันที่ กันยายน
การเมืองการปกครอง เวียดนาม : 
ระบอบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
พื้นที่ :  
331,689 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 
89,693,000 คน
ภาษา :
 
ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ของประเทศแผ่นแป้งทำจากข้าวจ้าว นำมาห่อไส้ ซึ่งอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ รวมกับผักที่มีสรรพคุณ
เป็นยานานาชนิด

สัตว์ประจำชาติ เวียดนาม : 
กระบือ
สกุลเงิน เวียดนาม : 
ด่ง (Dong) 
วันที่เข้าร่วมอาเซียน :
 
วันที่ 28 มกราคม 1995


ดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม : เป็นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยอย่าง ดอกบัว (Lotus) เป็นดอกไม้ประจำชาติ โดยดอกบัวเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ" เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ดอกบัวจึงมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของชาวเวียดนามอยู่บ่อยครั้ง

อาหารประจำชาติ : เปาะเปี๊ยะเวียดนาม  (Vietnamese Spring Rolls) ถือเป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองที่โด่งดังที่สุดของประเทศเวียดนาม ความอร่อยของเปาะเปี๊ยะเวียดนาม อยู่ที่การนำแผ่นแป้งซึ่งทำจากข้าวจ้าวมาห่อไส้ ซึ่งอาจจะเป็นไก่ หมู กุ้ง หรือหมูยอ โดยนำมารวมกับผักสมุนไพรอีกหลายชนิด เช่น สะระแหน่ ผักกาดหอม และนำมารับประทานคู่กับน้ำจิ้มหวาน โดยจะมีถั่วคั่ว แครอทซอย ไชเท้าซอย ให้เติมตามใจชอบ และบางครั้งอาจมีเครื่องเคียงอย่างอื่นเพิ่มด้วย  











ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

10 คำอวยพรสุดฮิต! ใช้อำลา ก่อนจากกัน ภาษาฝรั่งเศสพื้นฐาน

พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

หอไอเฟล Tour Eiffel