บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

ประเทศฝรั่งเศส

รูปภาพ
  ชื่อทางการ     สาธารณรัฐฝรั่งเศส ( République Française) พรมแดน    ติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน ภูมิประเทศ     มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก พื้นที่ประมาณสองในสามเป็นที่ราบ เทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาแอล์ปซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในยุโรป คือ ยอดเขามงต์บลองก์ (Mont-Blanc) สูง 4,807 เมตร ประเทศฝรั่งเศสมีชายฝั่งทะเลอยู่ถึง 4 ด้าน (ทะเลเหนือ ช่องแคบอังกฤษ มหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ภูมิอากาศ    มี 3 แบบคือ แบบชายฝั่งทะเลตะวันตก (บริเวณตะวันตกของประเทศ) แบบเมดิเตอร์เรเนียน (ทางตอนใต้ของประเทศ) และแบบภาคพื้นทวีป (ทางตอนกลางและภาคตะวันออกของประเทศ) ภาษาที่ใช้     ภาษาฝรั่งเศส การปกครอง     ระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข เมืองหลวง     ปารีส พื้นที่     รวม 632,834 ตร.กม. นับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปตะวันตก (ประมาณเกือบหนึ่งในห้าของพื้นที่ของสหภาพยุโรป) อีกทั้งยังมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่กินอาณาบริเวณกว้างขวาง สกุลเงิน    ยูโร (EUR) โดย 1 EU

มาสทริสช์

มาสทริชท์  หรือ  มาสตริคต์  ( ดัตช์ :  Maastricht ) เป็นเมืองใน ประเทศเนเธอร์แลนด์  ตั้งอยู่ทางตอนใต้ใน จังหวัดลิมบูร์ก  และเป็นเมืองหลวงของจังหวัด ตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำมาส  ใกล้เขตแดน ประเทศเบลเยียม  เมืองมาสทริชท์เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองแห่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้าน และการศึกษา [1]  ยังมีชื่อเสียงด้านการค้าขายและพักผ่อนของนักท่องเที่ยว ด้านอุตสาหกรรม มีการผลิตเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ กระดาษ แก้ว เครื่องปั้นเผา ซิการ์ เป็นตลาดค้าธัญพืชและเนยเหลว การที่อยู่ติดแนวเขตแดนทำให้ถูกปิดล้อมและถูกยึดครองบ่อยครั้ง  สเปน ได้ยึดครองใน ค.ศ. 1579 ทำให้ชาวเมืองถูกสังหารไปเป็นจำนวนมากจากการลุกขึ้นต่อต้าน ต่อมาใน ค.ศ. 1673 ค.ศ. 1748 และ ค.ศ. 1794 ฝรั่งเศสเข้ายึดครอง ใน สงครามโลกครั้งที่สอง   เยอรมนี ได้เข้ายึดครองระหว่างปี ค.ศ. 1940-1944 ใน ค.ศ. 1992 มีการลงนามใน สนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรป ขึ้นที่เมืองนี้

อาเซียน ASEAN

รูปภาพ
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN)  เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง อาเซียนคืออะไร ? หลายคนอาจจะยังมีข้อกังขาเกี่ยวคำเรียกที่ว่า  " ASEAN "  หรือในภาษาไทยอ่านว่า  " อาเซียน "  จริงๆ แล้วคำนี้มันมีความหมายว่าอะไร และมีความสำคัญอย่างไร เหตุใดเราถึงควรรู้จักกับเจ้าคำนี้เอาไว้ วันนี้ เราจะมาคลายข้อสงสัยเพื่อทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ "อาเซียน" มากขึ้น อาเซียน  เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่  มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม,

ยูโรโซน

รูปภาพ
ยูโรโซน  หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า  พื้นที่ยูโร [1] เป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ประกอบด้วยรัฐสมาชิก สหภาพยุโรป  19 รัฐ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ซึ่งใช้เงินสกุล ยูโร เป็นสกุลเงินร่วม และเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ยูโรโซนปัจจุบันประกอบด้วย ออสเตรีย   เบลเยียม ไซปรัส   เอสโตเนีย   ฟินแลนด์   ฝรั่งเศส   เยอรมนี   กรีซ ไอร์แลนด์   อิตาลี   ลิทัวเนีย   ลักเซมเบิร์ก   ลัตเวีย มอลตา   เนเธอร์แลนด์   โปรตุเกส   สโลวาเกีย   สโลวีเนีย  และ สเปน  รัฐสหภาพยุโรปอื่นส่วนใหญ่ถูกผูกมัดให้เข้าร่วมเมื่อรัฐนั้นผ่านเกณฑ์การเข้าร่วม ไม่มีรัฐใดออกจากกลุ่มและไม่มีข้อกำหนดในการออกหรือขับสมาชิกออก    ประเทศยูโรโซน    ประเทศนอกยูโรโซนที่ใช้เงินสกุลยูโร นโยบายการเงินของโซนเป็นความรับผิดชอบของ ธนาคารกลางยุโรป  ซึ่งควบคุมโดยประธานและคณะกรรมการหัวหน้าธนาคารกลางแห่งชาติ งานหลักของธนาคารกลางยุโรปคือ รักษา เงินเฟ้อ ให้อยู่ภายใต้การควบคุมแม้ไม่มีการเป็นผู้แทนร่วม วิธีการปกครองหรือนโยบายการคลังของสหภาพการเงิน มีการร่วมมือเกิดขึ้นบ้างผ่านกลุ่มยูโร ซึ่งดำเนินการตัดสินใจทางการเมืองเกี่ยวข้อง